Skip to content

Top Of The World

  • Home
  • sport news
  • technology
  • travel & lifestyle
  • world news

Top Of The World

Just another WordPress site

อาหารสายยาง ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายยาง

December 18, 2020 by admin

อาหารสายยาง ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายยาง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ข้อบ่งชี้ จุดประสงค์ ประเด็นทางจริยธรรม เทคนิค และภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายยาง (Indications for enteral feeding) ได้แก่

– ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้ 5-7 วัน และมีภาวะทุพโภชนาการ
– ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว (Unconscious patients)
– ผู้ป่วยมีปัญหาการกลืน (Swallowing disorders)
– ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ล้มเหลวบางส่วน (Partial intestinal failure)
– ผู้ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น anorexia nervosa
– ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางเดินอาหาร การใส่ Enteral tube feeding (ETF) ในกรณีนี้ไม่ใช่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร แต่เพื่อระบาย gastric content ลดการติดเชื้อ และเชื่อว่าจะมีผลลดระยะเวลาพักฟื้น หรือลดระยะเวลานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้
– ผู้ป่วย uncomplicated pancreatitis

จุดประสงค์ของการใส่สายยางให้อาหารและการให้อาหารทางสายยาง

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

ประเด็นทางจริยธรรม (Ethical issues)
การใส่และถอดสายยางให้อาหาร (ETF) ควรได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายวิชาชีพโดยให้ผู้ป่วยเซ็นชื่อในเอกสารยินยอมก่อนเสมอ
กรณีนี้ในโรงพยาบาลที่พานักศึกษาขึ้นฝึกภาคปฏิบัติพบว่ายังไม่ได้ปฏิบัติ จึงควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองในประเทศไทย และกฎระเบียบของโรงพยาบาลต่อไป

เทคนิค

1. สายเล็ก ขนาด 5-8 French Nasogastric tubes (NG tubes) เหมาะสำหรับการ feed ให้อาหารทางสายยาง แต่บาง evidence แนะนำว่า ขนาดของสายและการวางตำแหน่งของสายเป็นสิ่งสำคัญ โดยแนะนำให้วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก (The outer lumen tube diameters) เป็นหน่วย French (1 French unit = 0.33 mm) พบว่า
– สายใหญ่ ขนาดมากกว่า 14 French สะดวกให้อาหารและยาและยังสามารถวัด gastric pH และ residual volume ได้
– สายเล็ก ขนาด 5-12 French นิยมใส่ลงสู่กระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็ก เช่น gastrostomy jejunostomy Nasojejunal tubes (NJ tubes) สายขนาดเล็กสามารถลดความลำคาญของผู้ป่วยได้ แต่มีโอกาสเกิดการอุดตันได้ง่าย

2. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือพยาบาลควรเป็นผู้ใส่ NG tubes ที่ ward เมื่อใส่แล้วควรตรวจสอบตำแหน่งด้วยการทดสอบค่าความเป็นกรด-ด่างของ content (pH test) ทุกครั้ง ในกรณีที่ไม่มี content ควร X-ray (แต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการทดสอบค่าความเป็นกรด-ด่างของ content)

3. ตำแหน่งของ Nasojejunal tubes (NJ tubes) ควรได้รับการ confirmed โดยการ X-ray ภายในเวลา 8-12 ชั่วโมงหลังใส่ และควร test pH aspiration techniques ด้วย

4. ควรเปลี่ยน NG tubes และ NJ tubes ทุก 4-6 สัปดาห์

5. ในผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด distal adhesions หรือ การยึดติดของ gastrostomy tubes ในการพยาบาลสามารถ removed โดยการตัด gastrostromy tubes และดันสายเข้าในกระเพาะอาหารได้ (ขณะนี้ ยังไม่ควรการสอนนักศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคภาคปฏิบัติ)

6. การให้อาหาร สำหรับการ feed ที่เหมาะสม

– ควรให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร 30 ml/kg/day of standard 1 kcal/ml
– ความถี่ในการ feed ควรพิจารณาให้เหมาะสม คือ อาหารจะไม่เหลือค้าง
– ระวังเรื่องการติดเชื้อ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้อง on ETF กลับบ้าน ควรให้คำแนะนำเรื่องการให้อาหารและการดูแลอุปกรณ์ด้วย

Post navigation

Previous Post:

เนเธอร์แลนด์ล็อกดาวน์ยาวถึงกลางม.ค.ปีหน้า

Next Post:

แกนนำรีพับลิกันในวุฒิสภา “ยินดี” กับไบเดน

Recent Posts

  • หุ้นฟิวเจอร์สซื้อขายสูงขึ้นก่อนการเปิดตัว Biden
  • รองประธาน Mike Pence คาดว่าจะข้ามการส่งตัวของทรัมป์ไปฟลอริดา
  • จัดฟันบางนา: เผย 7 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับฟันและช่องปาก
  • ไฟไหม้โรงแรมพนักงานยกกระเป๋าเสียชีวิต 2 คน
  • เจมี่วาร์ดีกองหน้าของเลสเตอร์ซิตี้จะเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อน

Recent Comments

  • A WordPress Commenter on Hello world!

Archives

  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • February 2020
© 2021 Top Of The World | WordPress Theme by Superbthemes